ແຫຼ່ງທ່ອງທ່ຽວ….

สำนักงานเทศบาลเมืองปากช่อง

เทศบาลเมืองปากช่อง เดิมมีรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นแบบสุขาภิบาล มีชื่อเรียกว่า สุขาภิบาลปากช่อง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2499 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2499 [1] แต่เดิมนั้นเขตการปกครองขึ้นตรงกับ กิ่งอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2501 มีพระราชกฤษฎียกฐานะ กิ่งอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว เป็นอำเภอปากช่อง

สุขาภิบาลปากช่องได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลขึ้น 2 ครั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2504 และ ปี พ.ศ. 2510 จากนั้น สุขาภิบาลปากช่อง ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลปากช่อง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2524 [2]

ต่อมา เทศบาลตำบลปากช่อง ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลเมืองปากช่อง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2548 [3]

ภาพมุมกว้างตัวอำเภอปากช่อง และถนนมิตรภาพ

[แก้]ข้อมูลพื้นฐาน

[แก้]ภูมิศาสตร์ และการปกครอง

เทศบาลเมืองปากช่อง มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งสิ้น 15.25 ตารางกิโลเมตร ชุมชนภายในเขตเทศบาลจำนวน 23 ชุมชน ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็น ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถปลูกพืชได้แทบทุกชนิด สภาพพื้นดินเป็นที่ราบเชิงเขา อากาศดี ฝนตกตามฤดูกาล [4]

[แก้]อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่บ้านหนองตาแก้ว อำเภอปากช่อง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลหนองน้ำแดง อำเภอปากช่อง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ลำตะคอง และหมู่บ้านประดู่มาก
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขตป่าสงวนแห่งชาติ หมู่บ้านน้ำตกหลังเหว อำเภอปากช่อง

[แก้]ข้อมูลประชากร

เทศบาลเมืองปากช่อง ณ ธันวาคม 2552 มีประชากรทั้งหมด 37,052 คน เป็นชาย 17,809 คน เป็นหญิง 19,243 คน จำนวนบ้าน 15,250 หลัง

[แก้]สภาพทั่วไป และการคมนาคมขนส่ง

ภายในเขตเทศบาลเมืองปากช่อง มีสถานประกอบเทศพานิชย์ เป็นสถานธนานุบาลจำนวน 1 แห่ง มีกิจการสถานีบริการน้ำมัน 8 แห่ง ตลาดสด 2 แห่ง มีโรงแรม 9 แห่ง ธนาคาร 10 แห่ง สถานที่จำหน่ายอาหารตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข 220 แห่ง

การคมนาคม

  • ทางรถยนต์ มีถนนสายหลักคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) และถนนภายในเขตเทศบาลจำนวน 254 สาย มีลำตะคองเป็นลำน้ำสายหลักที่ใช้ในการบริโภค ขนส่ง และประกอบ
  • ทางรถไฟ มีขบวนรถขึ้น-ล่อง หยุดรับส่งผู้โดยสารที่สถานีรถไฟปากช่องให้บริการทุกวัน

อาชีพ

ใส่ความเห็น